Web Hosting คืออะไร

หลักสำคัญในการสร้างเว็บไซต์           

1. การเลือกเนื้อหาเว็บเพจ การเลือกเนื้อหา ถือเป็นส่วนสำคัญใน การเริ่มต้นทำเว็บเพจ ทั้งการจัดโครงสร้าง และ ความนิยมของเว็บเพจ แน่นอนว่า ถ้าผู้จัดทำ มีเนื้อหาอยู่แล้ว เช่น เว็บเพจขององค์กร, เว็บเพจของเกมส์, เว็บเพจดารา เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่ง สำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเลือกหัวข้อใด ควรเริ่มต้นจาก การสำรวจตัวเองว่า ชอบ หรือ สนใจสิ่งใด มากที่สุด หรือ มีความรู้ ด้านใด มากที่สุด หรือ เชี่ยวชาญด้านใด มากที่สุด แล้วพยายาม เลือกสิ่งนั้นในเป็นเนื้อหา เพราะระหว่างทำเว็บเพจนี้ จะได้เกิดความสนุก และ จะได้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย


2. โครงสร้างของเว็บเพจ การจัดโครงสร้างนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การที่จะทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม สามารถค้นหาข้อมูล ในเว็บเพจได้อย่างเป็นระบบ ประการแรกต้องพิจารณาถึง ความเป็นไปได้ของ ประเภทของผู้เข้าเยี่ยมชม เพราะ ผู้เยี่ยมชมแต่ละประเภท ก็จะค้นหาข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้น โครงสร้างของเว็บเพจ ก็ควรจะจัดตาม ความต้องการที่แตกต่าง ของผู้เข้าเยี่ยมชม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นเว็บเพจ ของบริษัท ก ผู้ที่เข้าเยี่ยมชม ไม่ว่าจะตั้งใจมาหาข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท ก หรือ อาจจะบังเอิญเข้ามา ในความเห็นของผู้เขียน ควรจะแบ่งประเภท ของผู้เข้าเยี่ยมชม ว่าเป็น ลูกค้าของบริษัท รวมถึง ลูกค้าในอนาคต ของบริษัทด้วย, เจ้าหนี้ของบริษัท, คู่แข่งของบริษัท, พนักงานของบริษัท, ผู้ถือหุ้น, บุคคลทั่วไป หรือ ผู้เข้าเยี่ยมชมประเภทอื่นๆ ดังนี้จะเห็นความแตกต่าง ทางข้อมูล ที่จะต้องเตรียม ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชม ซึ่งแตกต่างๆ กันอย่างมาก จะเห็นได้ว่า ความต้องการของ ผู้เข้าเยี่ยมชมที่เกิดขึ้นนี้ มีความหลากหลายมาก สิ่งที่จะต้องปฏิบัติต่อไปก็คือ การจัดกลุ่มของข้อมูล ที่กระจัดกระจายเหล่านี้ ให้รวม หัวข้อย่อยต่างๆ ให้อยู่ในหัวข้อหลัก โดยมีจุดมุ่งหมายให้ จำนวนข้อหลักน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น หัวข้อย่อยบางหัวข้อ อาจต้องตัดทิ้งเพื่อความเหมาะสม นอกจากนี้การจัดไฟล์ และ ไดเร็กทอรี่ ก็จะช่วยให้การดูแลรักษา และการตรวจสอบ ความผิดพลาด ของเว็บเพจ ง่ายยิ่งขึ้น เช่นการจัดไฟล์รูปภาพ ไว้ที่เดียวกัน หรือ จัดเว็บเพจที่เป็น เรื่องเดียวกันไว้ในไดเร็กทอรี่ เดียวกัน เป็นต้น


3. ทุกคนดูได้และดูดี การทำเว็บเพจ ควรจะทำเพื่อให้สามารถดูได้จากทุกๆ Version ของ Software ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netscape Communicator, Internet Explorer หรือ อื่นๆ การทำให้ทุกคนดูได้นี้ ถือว่าเป็นการขยายฐานของผู้เข้าเยี่ยมชม เพราะถ้าสามารถดูได้จากเพียง Software บางตัว ก็จะเป็นการลด จำนวนผู้เข้าชม ลงไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น สีที่ใช้, รูปภาพ, frames, style sheets, cookie, java, javascript และ plug-ins ที่อาจทำให้ ผู้เข้าชม บางคน เห็น เว็บเพจแตกต่างไป กรุณาอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติมได้ จาก http://www.anybrowser.org นอกจากจะดูได้แล้ว ควรจะดูดีอีกด้วย เพราะมีความเป็นไปได้ที่ เว็บเพจที่ออกมาอาจ แสดงไม่เหมือนกัน บน Browser ที่ต่างกัน รวมถึง การใช้ Version ที่ต่างกันด้วย การทำเว็บเพจนี้ ควรให้แน่ใจว่า ทุกคนดูได้และดูดี อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนของ ประเภท Browser และ version ที่ผู้เข้าเยี่ยมชม ไม่เป็นที่แน่นอน แต่ถ้าส่วนใหญ่แล้ว น่าจะเป็น Netscape Communicator และ Internet Explorer เพราะฉะนั้น การตรวจสอบผ่านสอง Browser นี้เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ส่วน version ที่ใช้ ก็ใช้ version ปานกลาง ไม่เก่าจนเกินไป หรือ ใหม่จนเกินไป (ถ้าเป็นไปได้ ควรตรวจสอบจาก ทุกๆ Browser และ ทุกๆ version เท่าที่จะหาได้)


4. ความเร็วในการโหลดเว็บเพจ สิ่งที่ควรคำนึงใน การทำเว็บเพจอีกสิ่งหนึ่ง คือ ความเร็วใน การโหลดเว็บเพจ ผู้เข้าชมไม่ควรใช้ เวลานานเกินสมควร ในการรอ ให้โหลดเว็บเพจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหน้าแรก ของการโหลด เพราะมีหลายครั้งที่ ผู้เข้าเยี่ยมชมจะหยุด การโหลดเว็บเพจ และ เปลี่ยนไปหาข้อมูลจากที่อื่น ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง ของผู้ทำเว็บเพจ ปัจจัยที่จะกระทบต่อความเร็ว ได้แก่ ขนาดของรูปภาพที่ใช้, จำนวนของรูปภาพที่ใช้ และ ปริมาณของตัวอักษร ที่อยู่บนหน้านั้นๆ อนึ่งความเร็วใน การโหลดเว็บเพจ อาจอยู่ที่ Server ที่เว็บเพจนั้นๆอยู่ ว่ามีความสามารถ สูงเพียงใดด้วย ขนาดของรูปภาพที่ใช้ ควรจะมีขนาดไม่เกิน 20-30K ต่อรูป ส่วนประเภทของรูปนั้น ควรเป็น GIF หรือ JPEG ถ้าขนาดของรูปภาพใหญ่เกินไป อาจตัดแบ่ง ให้ขนาดเล็กลง และใช้ ตาราง ช่วยในการจัดรูปภาพนั้นๆ แต่ก็ไม่ควรมี จำนวนมากเกินไป เพราะนั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ ลดความเร็วของ การโหลดเว็บเพจ ใน ระบบ cache ที่มีในบาง browser จะทำการเก็บรูปภาพ ที่เคยโหลดแล้ว ไว้ในเครื่อง เพื่อเพิ่มความเร็ว เราสามารถ ใช้ประโยชน์จาก cache นี้ โดยการใช้รูปเดิม ให้มากขึ้น ถ้าไม่จำเป็น ควรใช้รูปเดิมให้มากที่สุด การที่เว็บเพจหน้านั้นๆ มีจำนวนตัวอักษรมาก ก็จะลดความเร็ว ในการโหลดเช่นกัน ดังนั้น ถ้ามีเนื้อหามากๆ ควรจะตัดแบ่ง ออกเป็นตอนๆ เพื่อช่วยเพิ่ม ความเร็วในการโหลด และยังเป็นการให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม อ่านง่ายยิ่งขึ้นด้วย


5. ความง่ายในการค้นหาข้อมูล ความอดทนของ ผู้เข้าเยี่ยมชมมีความแตกต่างกันไป หากใช้เวลา พอสมควรแล้ว ยังไม่สามารถ หาข้อมูลจากเว็บเพจ ก็อาจจะเปลี่ยนไปหาที่อื่นได้ สิ่งนี้คงไม่เป็น การดีต่อเว็บเพจ อย่างแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม สามารถค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ ในเว็บเพจได้ง่าย และ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด แน่นอนว่าปัจจัยหลัก ต้องขึ้นอยู่กับ โครงสร้างของเว็บเพจ ตั้งแต่ตอนแรกที่มีการจัดโครงสร้าง และ จัดกลุ่มของข้อมูล ดังที่ได้กล่าวในข้างต้น

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกเช่น การมี Navigator bar หรือ แถบนำทาง ในทุกๆหน้าของเว็บเพจ ( เว็บเพจไทย ส่วนใหญ่ใช้ frames เพื่อช่วยในการนำทาง ผู้เขียนไม่ขอแนะนำ ให้ใช้ frames เพราะ ผลที่ออกทางจอภาพ อาจไม่เป็นอย่าง ที่เราต้องการ ) และ ถ้าสามารถให้บริการ Search และ Sitemap ได้ก็จะเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ ค้นหาข้อมูล ได้ง่ายยิ่งขึ้น


6. ตัวอักษร, ฉากหลัง และ สี คงจะมีหลายครั้ง ที่ผู้เข้าเยี่ยมชม จะต้องประสบกับ ความคิดสร้างสรรค์ ของผู้จัดทำ โดยการใช้สี บนตัวอักษร หรือ บนฉากหลัง รวมถึงการใช้ รูปเป็นฉากหลัง เหล่านี้ อาจทำให้ เกิดปัญหากับ ระบบประสาทตา ของผู้เข้าเยี่ยมชมได้ สีของตัวอักษร และ ฉากหลัง ที่ผู้เขียนแนะนำคือ ตัวอักษรสีดำ บนฉากหลังขาว ถ้าต้องการกำหนด ประเภทของตัวอักษร ควรใช้ที่เป็นสากลนิยม เช่น ในกรณีภาษาอังกฤษ อาจใช้ Arial หรือ Times เป็นต้น ส่วนภาษาไทย อาจใช้ MS Sans Serif หรือ ตัวอักษร UPC อื่นๆ น่าจะถือเป็น สากลนิยมของภาษาไทย การเลือกใช้ ตัวอักษรภาษาไทยนั้น ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะ ในกรณีที่ เครื่องผู้เยี่ยมชม ไม่มีตัวอักษรนั้นๆ อาจทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม ไม่สามารถอ่าน ตัวอักษรได้เลย ฉากหลังที่ใช้นั้น ผู้เขียนไม่ขอแนะนำให้ ฉากหลังเด่นเกินตัวอักษร ที่อยู่บนเว็บเพจ เพราะจะทำให้อ่านยาก และ ทำให้เนื้อหา ไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การใช้ฉากหลังสีพื้น อาจทำให้ดูน่าเบื่อ หลายครั้งที่ ผู้เขียนแนะนำไปยัง webmaster แต่คำตอบที่ได้คือ "ไม่เปลี่ยน เพราะของเดิมสวยดีอยู่แล้ว" ดังนี้คงต้อง ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ ของแต่ละบุคคล ในกรณีที่ เว็บเพจมีรายละเอียดมาก จำนวนตัวอักษร ในแต่ละบรรทัด อาจช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชม อ่านรายละเอียดได้ง่ายขึ้น สามารถทำได้โดยใช้ ตารางแบ่งเป็น 2-3 แถว แต่ก็ไม่ควรบรรทัดสั้นเกินไป เพราะ จะทำให้อ่านแล้วไม่ได้ใจความ


7. รูปภาพ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น รูปภาพบนเว็บเพจนี้ มีใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ GIF หรือ JPEG หนึ่งในหลักการพิจารณา การใช้ประเภทเพื่อ ประสิทธิภาพสูงสุด คือ จำนวนสีของ รูปภาพนั้นๆ ถ้าเป็นภาพแต่ง หรือ ภาพถ่ายที่มีสีมากๆ ก็ควรใช้ ไฟล์ประเภท JPEG แต่ถ้าเป็นเพียง ปุ่ม หรือ ป้าย ที่มีสีไม่มาก ก็ควรใช้ GIF ในบางครั้ง การมองด้วยตาเปล่า แทบจะไม่ สามารถบอกได้ถึง ความแตกต่างเลยทีเดียว ถ้าเป็นไปได้ ควรจะทดสอบด้วยตนเอง โดยการ เปรียบเทียบ ไฟล์ทั้งสอง ประเภท และใช้ ประเภทของไฟล์ที่พอใจ พร้อมกับพิจารณาเรื่อง ขนาดของไฟล์ด้วย อนึ่ง ควรจะมีการคะเนขนาด ของรูปภาพที่ จะใส่บนเว็บเพจก่อน เพื่อจะได้ใช้ขนาด และ อัตราส่วน ที่พึงพอใจ มากที่สุด Software ที่จะช่วยลดขนาดของ files ทั้ง GIF และ JPEG (รวมถึง GIF Animation ด้วย) คือ Ulead WebRazor ซึ่งสามารถหา ได้จาก http://www.ulead.com สิ่งหนึ่งที่ผู้จัดทำเว็บเพจ มักมองข้ามก็คือ ความเร็วของ การโหลดรูปภาพ ซึ่งปัจจัยหลัก อยู่กับความเร็วของอุปกรณ์ ของผู้เข้าเยี่ยมชม การทดสอบจาก เครื่องของผู้จัดทำเว็บเพจ หรือ การทดสอบผ่านระบบ LAN ไม่สามารถนำมาวัดได้ ควรจะต้องมี การทดสอบจาก Server โดยผ่าน Modem ด้วย มีหลายสาเหตุ ที่ทำให้รูปภาพ มีขนาดใหญ่ เกินความจำเป็น เช่น การใช้ anti-aliased ในการพิมพ์ตัวอักษร, การใช้ gradient tool ในการไล่สี เป็นต้น เหล่านี้ทำให้ ภาพดูดีขึ้น เช่น anti-aliased ทำให้ตัวอักษรดูมีมิติ และสบายตา ส่วน gradient tool อาจทำให้ภาพดูสวยขึ้น แต่ทั้งสองวิธีนี้ ทำให้ไฟล์ มีขนาดใหญ่เกินไป และในบางครั้ง ผลที่ออกมา จากบางจอภาพ ทั้งตัวอักษร และ gradient tool อาจไม่ตรงกับที่ต้องการ สำหรับเว็บเพจที่เป็น Gallary รูปภาพ ควรจะมี การทำรูปเล็กๆ เพื่อเชื่อมต่อ ไปยัง รูปใหญ่ หรือ เรียกว่า Thumb สาเหตุที่ ควรทำเช่นนี้ นอกจาก ทำให้โหลดรูปภาพ ได้เร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชมได้ เห็นคร่าวๆ ว่ารูปภาพเป็นอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ ควรให้รายละเอียด ของขนาดของไฟล์ และขนาดของรูปภาพ นั้นๆ ด้วย


8. ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของเว็บเพจ ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้? หลายครั้งที่ผู้เขียนถูกโต้แย้งว่า "ขาดแล้วก็ไม่เห็นเป็นไร" ซึ่งก็ถูกต้องตามนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การพิจารณานี้ ขึ้นอยู่กับ ตัวผู้จัดทำเองว่า จะเห็น สิ่งต่อไปนี้เป็น ส่วนประกอบ ที่ขาดไม่ได้ จริงหรือไม่ เช่น หัวข้อที่เกี่ยวกับ ตัวบริษัท, ผู้จัดทำ อาจเป็น ประวัติความเป็นมา และ/หรือ ข้อมูลปัจจุบัน (About us) เหล่านี้ช่วยเพิ่ม ความน่าเชื่อถือให้กับ ผู้เข้าเยี่ยมชม ต่อบริษัท, ผู้จัดทำ ดังที่ได้อธิบายข้างต้น เกี่ยวกับ แถบนำทาง, Search, Sitemap เหล่านี้คือ อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ เพื่อช่วยให้ ผู้เยี่ยมชม ค้นหาข้อมูลในเว็บเพจได้ง่าย และ สะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจาก เว็บเพจ เป็นสื่อ ที่สามารถโต้ตอบกันได้ ซึ่งแตกต่างจากสื่อเดิมๆ เช่น หนังสือพิมพ์, ทีวี หรือ วิทยุ ดังนี้ วิธีที่จะติดต่อบริษัท, ผู้จัดทำ ไม่ว่าจะเป็น ทาง จดหมาย, โทรศัพท์, Fax หรือ email (Contact us) เมื่อผู้เข้าเยี่ยมชม มีปัญหา หรือ ต้องการข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม ก็จะสามารถติดต่อเพื่อ จะได้ ข้อมูลที่สมบูรณ์ มากที่สุด ยังมีหัวข้ออื่นๆ อีก เช่น ข้อเสนอแนะ (Feedback), คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ - Frequently Asked Questions), เว็บเพจที่น่าสนใจอื่นๆ เป็นต้น หัวข้อต่างๆนี้ ช่วยลดเวลา ในการหาข้อมูล ของ ผู้เข้าเยี่ยมชม


9. ก่อนที่เว็บเพจจะ publish ก่อนที่จะนำเว็บเพจ upload ไปยัง server ควรจะมีการทดสอบ โดยใช้ทั้ง Netscape Communicator และ Internet Explorer (ส่วน version ที่ใช้ ควรใช้ version ที่ไม่ใหม่จนเกินไป และ ไม่เก่าจนเกินไป) ว่า ความเร็วในการโหลด ช้าหรือเร็วเพียงใด, link ทั้งภายใน และ ภายนอก ถูกต้องหรือไม่, รูปภาพ ถูกต้องหรือไม่, พิสูจน์อักษร และ อ่านข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลต่างๆ ถูกต้อง ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบ ด้วย resolution ต่างๆกันด้วย เช่น 600x480 pixels และ 800x600 pixels เป็นต้น และ บน คุณภาพที่แตกต่าง ของจอภาพ เช่น 256 สี, 16bit และ 24 bit (Software ฟรี ที่สามารถเปลี่ยน สี และ resolution ได้คือ MS QuickRes หนึ่งใน Powertoy ซึ่ง download ได้จาก http://www.microsoft.com) หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ทดสอบให้มากที่สุด เท่าที่ผู้จัดทำ สามารถหาเครื่องได้ เพื่อป้องกัน การผิดพลาดที่ อาจจะเกิดขึ้น


10. หลังจากที่เว็บเพจ publish ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบ เหมือนกับที่ ทดสอบก่อนที่จะ publish เพื่อความแน่ใจอีกครั้ง แน่นอนว่า ถ้าเป็น เว็บเพจส่วนตัว ก็คงไม่ต้องมี การทดสอบ มากถึงขนาดนี้ หรือ ถ้าสามารถทำได้ ก็ควรจะทำการทดสอบ แต่ถ้าเป็น เว็บเพจ ของบริษัท การทดสอบทั้งก่อน และ หลัง เป็นสิ่งสำคัญ และ ควรกระทำ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการทดสอบแล้ว สิ่งที่จะต้องกระทำหลัง publish คือ การสำรวจ, ปรับปรุง และ ดูแลรักษา เว็บเพจ เมื่อพบความคิดดีๆ ที่อาจนำมา ปรับปรุงเว็บเพจได้ ก็ควรจะจดบันทึกไว้ ถ้าเป็นการแก้ไขนิดหน่อย ก็ควรทำการแก้ไขทันที แต่ถ้าเป็นการแก้ไขที่ ต้องใช้เวลานาน ควรรอสักระยะ รวบรวมสิ่งที่ ต้องการแก้ไขทั้งหมด แล้วจึงดำเนินการแก้ไข Feedback ต่างๆ จากผู้เข้าเยี่ยมชม เป็นสิ่งสำคัญที่ ต้องนำมาพิจารณา รวมถึง คำถาม และคำแนะนำต่างๆ จากผู้เข้าเยี่ยมชม ถ้าสามารถตอบ หรือ กล่าวขอบคุณ ต่อคำถาม และ คำแนะนำได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ถ้าเป็นข้อผิดพลาดที่ ผู้เข้าเยี่ยมชมแจ้งมา แน่นอนว่าควรแก้ไขทันที และ ส่งคำขอบคุณไปยังผู้เข้าเยี่ยมชม

ที่มา http://www.thaidev.com

 

TOP