การเขียนโปรแกรมแบบมีทางเลือก (Selection Structures)
การเขียนโปรแกรมแบบมีทางเลือก จะสามารถทำให้โปรแกรมสามารถตัดสินใจหรือเปรียบเทียบ จากนั้นก็จะเลือกดำเนินการไปในทิศทางหนึ่งจากสองทิศทาง ขึ้นอยู่กับผลที่ได้จากการเปรียบเทียบนั้น
เงื่อนไข (Condition)
- เป็นตัวกำหนดเงื่อนไขที่ผู้พัฒนาโปรแกรมได้สร้างขึ้นมา
- ผลลัพธ์ที่ได้จากเงื่อนไข จะมีค่า จริงหรือ เท็จ
โครงสร้างของเงื่อนไข (Condition Control Structures)
ประโยคเงื่อนไขสามารถที่จะเขียนให้อยู่ในรูปภาษา C จะเขียนได้ดังนี้
if condition then A else B
ซึ่งหมายความว่า ถ้าเงื่อนไข (condition) มีค่าเป็นจริง ก็จะดำเนินการทำคำสั่ง A มิเช่นนั้นก็จะทำคำสั่ง B
ตัวอย่างของการเขียนโครงสร้างทางเลือกในภาษา C สามารถเขียนได้ดังนี้
if (x < y)
a = x * 2;
else
a = x + y;
ความหมายของ code ดังกล่าว หมายความว่า ถ้า ค่า x มีค่าน้อยกว่า y แล้ว a = x*2
แต่ถ้า x มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ y แล้ว a = x+y นั่นเอง
รูปแบบของเงื่อนไข ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป “ตัวแปร โอเปอเรเตอร์ ตัวแปร” โอเปอเรเตอร์ที่กล่าวถึงนี้จะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ โอเปอเรเตอร์สัมพันธ์ (Relational Operator) และ โอเปอเรเตอร์ลอจิก (Logical Operator)
โอเปอเรเตอร์สัมพันธ์ที่ใช้ในภาษา C มีดังต่อไปนี้
if ( condition1 )
statement1 ;
else
if ( condition2 )
statement2 ;
. . .
else if ( condition-n )
statement-n ;
else
statement-e ;
ยกตัวอย่างของโปรแกรม Nested if สามารถเขียนได้ดังนี้
if (x < 0.25)
count1++;
else if (x < 0.5)
count2++;
else if (x < 0.75)
count3++;
else
count4++;
นอกจากรูปแบบของ if-else แล้ว เรายังสามารถใช้เครื่องหมาย ? มาประยุกต์ในการเขียน code เพื่อให้ได้ความหมายเดียวกันกับ if-else ดังแสดงให้เห็นดังนี้
if (x < y)
a = x * 2;
else
a = x + y;
สามารถเขียนได้ในอีกรูปแบบหนึ่งคือ a = x < y ? x*2: x+y ; // ซึ่งจะให้ความหมายเดียวกันกับ code ข้างบนนั่นเอง
ในบางครั้งที่เราต้องเขียนโปรแกรมแบบมีทางเลือก โดยบางครั้งเราต้องการให้มีทางเลือกมากว่า 2 ทาง Nested if เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้แก้ปัญหาได้ แต่เพื่อให้ง่ายขึ้น ในภาษา C เราจึงสามารถใช้คำสั่ง switch ได้ โดยรูปแบบการเขียน คำสั่ง switch สามารถเขียนให้อยู่ในรูป
switch (selector)
{
case label1: statement1;
break;
case label2: statement2;
break;
...
case labeln: statementn;
break;
default: statementd; // optional
break;
}
โดยที่ selector จะต้องเป็นจำนวนเต็ม ตัวอักษร หรือผลลัพธ์ของการกระทำที่ให้เลขจำนวนเต็มหรือตัวอักษร ตัวอย่างของการเขียน code โดยมีการเรียกใช้คำสั่ง switch สามารถเขียนได้ดังนี้
switch (i)
{
case 1 : grade = 'A';
break;
case 2 : grade = 'B';
break;
case 3 : grade = 'c';
break;
default : printf("%c not in range", i);
break;
}
โดยหลักการของ switch คือ compiler จะทำการเปรียบเทียบค่าของ selector เทียบกับ label ถ้าไม่ตรงกับ label ใดๆ ก็จะเข้าไปทำในคำสั่งของ default นอกจากนี้ การใส่คำสั่ง break หรือไม่มีคำสั่ง break ก็จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังแสดงให้เห็นดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ทดลอง Run แล้วจะเห็นความแตกต่าง)
การเปรียบเทียบตัวอักษร
คุณผู้อ่านทราบกันหรือไม่ว่า ตัวอักษรสามารถเปรียบเทียบค่ากันได้ เบื้องต้นเราต้องทราบก่อนว่า ตัวอักษรมีค่าอย่างไรกันบ้าง
ตัวอักษรตัวเล็ก ‘a’ มีค่า 97 ไปจนถึง ‘z’n มีค่า 122
ตัวอักษรตัวใหญ่ ‘A’ มีค่า 65 ไปจนถึง ‘Z’ มีค่าn 90
ตัวอย่างของการเปรียบเทียบตัวอักษร สามารถแสดงให้เห็นได้ดังนี้
n ‘9’ >= ‘0’ มีค่าเป็นจริง (1)
‘a’n < ‘e’ มีค่าเป็นจริง (1)
‘B’n <= ‘A’ มีค่าเป็นเท็จ (0)
‘a’n <= ‘A’ ขึ้นอยู่กับระบบ แต่ส่วนใหญ่ เป็นเท็จ
‘a’n <= ‘c’ && ‘c’ <= ‘z’ มีค่าเป็นจริง
คราวนี้เราลองมาดูโจทย์กัน สมมุติว่า เราจะเขียนโปรแกรม เพื่ออ่านค่าตัวอักษร 4 ตัว แล้ว เราต้องการที่จะเปลี่ยนตัวอักษรแต่ละตัว ให้เป็นตัวอักษรใหญ่ หรือเล็กที่ตรงข้ามกับค่าที่รับเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น PooH ให้เปลี่ยนเป็น pOOh เราจะเขียนโปรแกรมอย่างไร
คำตอบ วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ คือใช้ Nested-if ดังนี้
#include
void main()
{
char A, B, C, D;
printf("Input 4 characters\n");
scanf("%c %c %c %c", &A, &B, &C, &D);
if((A <= 90)&&(A >= 65)) A = (A - 65) + 97;
else if ((A >= 97)&&(A <= 122)) A = (A-97) + 65;
else A = A;
if((B <= 90)&&(B >= 65)) B = (B - 65) + 97;
else if ((B >= 97)&&(B <= 122)) B = (B-97) + 65;
else B = B;
if((C <= 90)&&(C >= 65)) C = (C - 65) + 97;
else if ((C >= 97)&&(C <= 122)) C = (C-97) + 65;
else C = C;
if((D <= 90)&&(D >= 65)) D = (D - 65) + 97;
else if ((D >= 97)&&(D <= 122)) D = (D-97) + 65;
else D = D;
printf("The answer is %c %c %c %c\n", A, B, C, D);
TOP |