การเขียนโปรแกรมภาษา PASCAL

            
               

ปาสคาล (Pascal) เป็นชื่อของภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เบลส ปาสคาล(Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์และ ศาสนาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 17 ดังนั้นชื่อของภาษาไม่ได้หมาย ถึงการใช้งานด้านต่างๆ ดังเช่น ฟอร์แทรน (FORTRAN หรือ FORmula TRANslation) ซึ่งใช้ในงานด้าน วิทยาศาสตร์ หรือ โคบอล (COBOL หรือ Common Business Oriented Language) ใช้ในงานด้านธุรกิจ

วัตถุประสงค์ของภาษาปาสกาล มีดังนี้

1. เป็นภาษากลางในการสอนคอมพิวเตอร์ซึ่งจะให้หลักการทั่วไปของการเขียน โปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ

2. โดยยกเว้นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่จำเป็น

3. เป็นภาษามาตรฐานที่แท้จริง ซึ่งสะดวกและง่ายที่จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกชนิด

ปาสกาลเป็นภาษากลางซึ่งง่ายในการเรียนรู้และเป็นภาษาพื้นฐานที่ดีในการศึกษาภาษาคอมพิวเตอร์ อื่นๆ ต่อไป มีผู้กล่าวว่าผู้ที่รู้ภาษาปาสกาล จะสามารถเรียนรู้ภาษาเบสิก (BASIC) ได้ภายใน 8 ชั่วโมง และเรียนรู้ ภาษาฟอร์แทรนได้ภายใน 1 หรือ 2 สัปดาห์ นิโคลัส เวิร์ต (Niklaus Wirth) เป็นผู้ออกแบบภาษา นี้ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นภาษาที่รัดกุม อ่านง่าย และไม่ซับซ้อน การเขียนปาสกาล คล้ายกับการ เขียนประโยคภาษาอังกฤษโดยทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ในอดีตนักเขียนโปรแกรมเพียงแต่เขียนโปรแกรม เพื่อให้เครื่องทำงานได้ โดยไม่พิจารณาว่า การเขียนโปรแกรม จะเหมาะสมกับการทำงานหรือไม่ ต่อมา เมื่อโครงการต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นโปรแกรม จึงมีการพัฒนาตามไปด้วยราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจ้างนักเขียนโปรแกรมไม่ได้ลดลงมากนัก เวลาที่ใช้ในการแก้ไข ปรับปรุง โปรแกรมเดิมดู เหมือนจะมากกว่าการสร้างโปรแกรมขึ้นมาใหม่
ดังนั้น ผู้บริหารจึงสนใจโปรแกรมทีสามารถใช้งานได้ และสามารถเข้าใจได้ง่าย หลาย ๆ ท่านคง เชื่อว่า วิธีการ เขียนโปรแกรมที่ดีเป็นพรสวรรค์ที่ไม่สามารถจะฝึกสอนได้ แต่ในสภาพความเป็นจริง แล้วการเขียนโปรแกรม เป็นการฝึกฝนด้านความคิด ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมได้หลายประเภท
ฉะนั้นต้องมีการเรียนรู้ เพื่อแยกแยะระหว่าง การเขียนโปรแกรมที่ดี และการเขียนที่ไม่ดี เราสามารถจะตัดสินใจว่าโปรแกรมนั้นดีหรือไม่ดีโดยดูที่รูปแบบของโปรแกรม (program style) ซึ่งรูปแบบที่ดีไม่เพียงแต่สามารถแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น และทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจ การทำงานของโปรแกรมได้ดี แม้ว่าผู้อ่านจะไม่ได้เขียนโปรแกรมนั้น แต่โปรแกรมนี้จะมีการใช้คำสั่ง กับคอมพิวเตอร์อย่างครบถ้วน โดยที่ผู้อ่านจะเข้าใจการทำงานและจุดมุ่งหมาย ของโปรแกรมอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้การเขียนโปรแกรมที่ดีไม่เพียงแต่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่อง แต่โปรแกรมนั้นควรจะยืดหยุ่นได้ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ที่มีหลายประเภทด้วย


1.1 ลักษณะของปาสกาลโปรแกรม

การเขียนปาสกาลโปรแกรมมีรูปแบบดังนี้ คือ รูปแบบ :
PROGRAM heading; (*This is a comment*)
Definition part

CONST

TYPE
Declaration part

VAR
PROCEDURE OR FUNCTION
BEGIN

Statement part
END.

หัวเรื่องของโปรแกรม (Program heading) คือบรรทัดแรกของโปรแกรม โดยที่เครื่องหมายอัฒภาค ';' เป็นตัวแยกบรรทัดนี้จากบรรทัดอื่น ๆ ในโปรแกรม โดยทั่วไปหัวเรื่องของโปรแกรมประกอบด้วย ชื่อโปรแกรม ตามด้วยเครื่องหมายวงเล็บซึ่งภายในมีรายชื่อตัวแปร ชนิดแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม

ชื่อโปรแกรม คือชื่อของโปรแกรมที่ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และเขียนตามด้วยตัวเลข หรือตัวอักษร ในชื่อ ของโปรแกรม ไม่มีเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ หรือเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ

ตัวอย่าง 1 :
ชื่อที่ถูกต้อง ชื่อที่ไม่ถูกต้อง 
R2D2O  2Bar02B
Pattittan  First*Run
Top40_Farrah  Fawcett-Major

โดยปกติแล้วคอมตัวแปรภาษาจะยอมรับชื่อโปรแกรมเพียง 8 ตัวอักขระแรก สำหรับชื่อที่ยาว กว่า 8 ตัวอักขระนั้น จะบันทึก 8 ตัวแรกเป็นชื่อโปรแกรม


1.2 การเขียนหมายเหตุ (comment)

หมายเหตุ คือ ประโยค หรือวลีภาษาอังกฤษที่เขียนระหว่างเครื่องหมายวงเล็บ และ '*'สำหรับคำอธิบายต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นในโปรแกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจการทำงานของ โปรแกรมได้มากขึ้น โดยหมายเหตุนี้ไม่มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ การเขียนหมายเหตุ มีรูปแบบดังนี้ รูปแบบ : program one; (*This is a comment*)
นอกจากนี้ยังสามารถเขียนหมายเหตุได้ครั้งละหลาย ๆ บรรทัดใน 1 โปรแกรม เช่น (* Program one by Ms.One two *) ผลลัพธ์ที่ได้จากการแปล และ สั่งให้โปรแกรมดำเนินงาน มีดังนี้

Hello. How are you?

1.3 ข้อความสั่ง End
เป็นข้อความสั่งสุดท้ายในโปรแกรม และข้อความสั่งนี้ต้อง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ('.') เสมอ
รูปแบบ : end.
ตัวอย่าง 2 :
program three;
begin
writeln ('Sawatdee');
end.

TOP