การเขียนโปรแกรมภาษา PASCAL

            
               

ผลลัพธ์
Sawatdee


1.4 เครื่องหมายแบ่งข้อความคำสั่ง (statement separator) เครื่องหมายอัฒภาค ';' เป็นเครื่องหมายในการแบ่งข้อความสั่ง ข้อความสั่งในภาษาปาสกาล ทุกคำสั่งต้องจบด้วย ';' ดังนั้นเครื่องหมายนี้ต่างจากเครื่องหมาย มหัพภาค ('.') เพราะเครื่องหมาย มหัพภาคนั้นเป็นการจบโปรแกรม ซึ่งใช้ตามหลังคำสั่ง end
รูปแบบ : writeln ('text');
ตัวอย่าง 3 :
Program four;
(*demonstrate the statement separator*)
begin
writeln ('Hello. How are you?');
writeln ('Fine, thank you.')
end.
ข้อมูลส่งออก
Hello, How are you?
Fine, thank you.


1.5 คำสงวน (Reserved Word)
คำสงวนเป็นตัว ระบุ (identifier) ได้แก่ PROGRAM WHILE หรือ PROCEDURE ซึ่งมีความหมายพิเศษในปาสกาล ดังนั้นโปรแกรมเมอร์จึงไม่สามารถใช้ตัวระบุเหล่านี้ ไปตั้งชื่อสิ่งอื่นๆ ได้แก่ ชื่อตัวแปร ตัวคงที่ ชื่อโปรแกรมหรือชื่อฟังก์ชันในโปรแกรม รายชื่อของตัวระบุมี ดังนี้

AND DO MOD PROCEDURE TO ARRAY DOWNTO FUNCTION NIL PROGRAM TYPE BEGIN ELSE GOTO NOT RECORE UNTIL CASE END TF OF REPEAT VAR CONST FILE IN OR SET WHILE DIV FOR LABEL PACKED THEN WITH


1.6 ตัวระบุ (Identifier)
คือชื่อที่ใช้ในโปรแกรมซึ่งอาจจะเป็นชื่อของ ค่าคงตัว (Constant) ตัวแปร (Variable) กระบวนงาน (procedure) หรือ โปรแกรม ตัวระบุนี้ประกอบด้วยตัวอักษร (หมายถึง 'A' ถึง 'Z' และ 'a' ถึง 'z') หรือตัวเลข มีข้อแม้คือ ชื่อของตัวระบุต้องขึ้นต้นด้วยอักษร
โดยทั่วไปสามารถใช้อักษรทั้งแป้นล่าง (lower case) และตัวอักษรแป้นบน (upper case) กับตัวระบุ แต่ผู้ใช้มักเลือกใช้ตัวอักษร แป้นล่างเป็นตัวระบุ และใช้อักษรแป้นบนสำหรับคำสงวน

การอ่านข้อมูลนำเข้า
 เมื่อโปรแกรมเรียกใช้  read หรือ readln เครื่องคอมพิวเตอร์จะหยุดรอรับข้อมูลที่ ผู้ใช้พิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ การที่ผู้ใช้กด return หรือ enter นั้นเป็นการใส่ <EOLN>แล้วมูลค่าที่พิมพ์เข้าไปนี้ จะเก็บไว้ในส่วนความจำของ เครื่องคอมพิวเตอร์โดยเปลี่ยนไปเป็น รหัสไบนารี่ที่เหมาะสมและ เก็บไว้ในตัวแปรตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง read ถ้าผู้ใช้ใส่มูลค่าซึ่งมีประเภทข้อมูล ไม่ตรงกับชนิดของตัวแปรจะเกิด ข้อผิดพลาดขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์แสดง คำเตือนข้อผิดพลาดและการทำงานของ โปรแกรมอาจจะหยุดชะงัก
ข้อแตกต่างของ read และ readln
     1. ข้อความสั่ง readln อ่านข้อมูลเข้า และไม่มีผลต่อการทำงานของข้อความสั่ง readln หรือข้อความสั่ง read 
ตัวอย่าง 28การใช้ข้อความสั่ง read และ readln
กำหนดให้ Numberofsheep และ Numberofgoats เป็นตัวแปรเลขจำนวนเต็ม 
READ(NumberofSheep); READLN; 
READ(Numverofgoats); READLN;   
ข้อมูลนำเข้ามี ดังนี้ คือ
10 SHEEP 
4 GOATS
ตัวแปร NumberofSheep จะมีค่าภายในเป็น 10 และ Numberofgoats มีค่าภายในเป็น 4 จะมีการอ่านข้ามสายอักขระ SHEEP และ GOATS เนื่องจากคำสั่ง READLN


 2.5 การเขียนผลลัพธ์ในปาสคาล
ข้อความสั่งแสดงผลลัพธ์ประกอบด้วย 2 คือข้อความสั่ง writeln และข้อความสั่ง write

การเขียนผลลัพธ์ในปาสกาลนั้นสามารถกำหนด ความยาวได้หลายรูปแบบ แต่ละบรรทัดจบลงด้วยจุดสิ้นสุดบรรทัด (end of line) หรือ <EOLN> ดังนั้นบรรทัดที่สั้นที่สุดอาจจะประกอบด้วย<EOLN> ใน    ขณะเดียวกันการเขียนผลลัพธ์ ที่จอภาพในแต่ละบรรทัดจะมีความยาว 80 ตัวอักษร กรณีที่ข้อมูลนำออกมีความยาวเกิน 80 ตัวอักษร  มาแสดงบนจอภาพผลนั้นคือ  คอมพิวเตอร์แสดงผลจนถึง 80 ตัวอักษรและข้อความที่เหลือจะ แสดงชิดซ้ายในบรรทัดถัดไป  ทุกๆ บรรทัดในปาสกาลนั้นเริ่มต้น เขียนชิดขอบซ้ายและจบลงด้วย <EOLN>

2.5.1 ข้อความสั่ง WRITELN (WRITELN Statements)
มีรูปแบบ ดังนี้คือ
writeln (<ตัวแปร> หรือ <สายอักขระ>)
ข้อความสั่ง writeln นั้นเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงข้อมูลส่งออกหนึ่งบรรทัด กรณีที่ต้องการเขียนนิพจน์หลายตัวในบรรทัดเดียวกันทำได้โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคกั้น และสามารถเขียนรวมกับสัญพจน์สายอักขระ การแสดงข้อมูลส่งออกนี้เริ่มจากขอบซ้ายของบรรทัดและข้อความนี้จะใส่จุดสิ้นสุดบรรทัดไว้ท้ายสุด เพื่อเป็นการบอกล่วงหน้าสำหรับข้อความแสดงผลต่อไปว่าให้ขึ้นบรรทัดใหม่   
การเขียนบรรทัดว่างทำได้โดยใช้ข้อความสั่ง
WRITELN;
ข้อความสั่งนี้จะจบบรรทัดปัจจุบัน และสั่งตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ให้เริ่มต้นบรรทัดใหม่ ถ้าตัวชี้ตำแหน่ง อยู่ที่จุดเริ่มต้นของบรรทัดอยู่แล้ว เมื่อมีการสั่งงานกับข้อความสั่งนี้ writeln จะแสดงบรรทัดว่าง
 
2.5.2 ข้อความสั่ง WRITE (WRITE Statements)
เป็นข้อความสั่งที่มีรูปแบเดียวกับข้อความสั่ง writeln การทำงานของข้อความสั่งนี้มีผลให้เขียนข้อมูลลงบรรทัดปัจจุบัน (current line) การใช้ข้อความสั่ง write หลายครั้งมีผลให้เขียนผลลัพธ์ลงในบรรทัดเดียวกัน 


2.5.3 การกำหนดรูปแบบของข้อมูลสั่งออก
มี 2 แบบ ดังนี้คือ
1. รูปแบบโดยปริยาย (Default format)
2. รูปแบบที่มีข้อกำหนดความกว้างเขต (Field Width Specification Format) 
รูปแบบโดยปริยายเป็นกรณีที่ผู้ใช้สั่งงานในโปรแกรมโดยไม่ต้องกำหนดรูปแบบของข้อมูลส่งออก วิธีนี้ปาสกาลจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบให้ ซึ่งจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปขึ้นกับ แบบชนิดข้อมูล สามารถแบ่งได้ ดังนี้

TOP