การเขียนโปรแกรมภาษา PASCAL

            
               

2.6 ข้อความสั่งอ่านข้อมูล
          ประกอบด้วย 2 คำสั่ง คือ  readln และ read มีรูปแบบ ดังนี้คือ

          readln(ชื่อตัวแปร 1, ชื่อตัวแปร 2, ..., ชื่อตัวแปร n)

          read  (ชื่อตัวแปร 1, ชื่อตัวแปร 2, ..., ชื่อตัวแปร n)
 

ชื่อตัวแปร = ตัวแปรที่ได้ประกาศไว้ซึ่งมีประเภทข้อมูลตรงกับมูลค่าที่ผู้ใช้จะนำมาใส่ข้อมูล

3.1 ข้อความสั่งกำหนดค่า
ข้อความสั่งกำหนดค่าทำหน้าที่เปลี่ยนค่าของตัวแปรในโปรแกรม โดยการกำหนดค่าเริ่มต้น หรือเปลี่ยนค่าปัจจุบันของตัวแปร รูปแบบของข้อความสั่งกำหนดค่ามีดังนี้ คือ
          ชื่อตัวแปร := ค่าที่ได้จากนิพจน์
          นิพจน์  คือ  ข้อความที่กำหนดด้วยชื่อตัวแปรโดดๆ ค่าคงที่ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ หรือการเรียกใช้ฟังก์ชัน 
ตัวอย่าง 3-1 การกำหนดค่าให้ตัวแปร
          age := 6;
หมายถึงกำหนดให้ตัวแปร age มีค่าเป็น 6 โดยที่ ':=' เป็นตัวดำเนินการของข้อความสั่ง    กำหนดค่า (assignment operator)  ข้อความสั่งกำหนดค่าเป็นข้อความ ที่ใช้บ่อยที่สุดในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์     เริ่มจากการคำนวณนิพจน์ที่อยู่ ด้านขวาของเครื่องหมาย ':=' และกำหนดค่าที่ได้ไว้ในตัวแปรที่อยู่ด้าน     ซ้ายของเครื่องหมาย เช่น
Number := 7 + 5;
กรณีนี้หมายถึงตัวแปร Number มีค่าเป็น 12 (ผลบวกของ 7 และ 5) และสามารถใช้ Number ในนิพจน์อื่น ๆ ต่อไป เช่น
          Sum := Number + 9;
           ข้อสังเกตุในการใช้ข้อความสั่งกำหนดค่า
1. ตัวแปรที่จะนำมาใช้กับข้อความสั่งกำหนดค่า ต้องได้รับการกำหนดค่าเริ่มต้น (intialize)             ก่อนที่จะนำมาใช้ในนิพจน์นั้น ๆ สำหรับตัวแปรที่ ไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้น ปาสกาลถือว่าไม่มีค่า จนกว่าจะมีการกำหนดค่าตัวแปรในโปรแกรม   
2. การกำหนดค่าให้กับตัวแปร มูลค่าที่ให้จะต้องเป็นชนิดเดียวกับชนิด ของตัวแปรที่ระบุไว้ที่ส่วนต้น        ของโปรแกรม เช่นกำหนดชนิดของตัวแปร Age เป็นเลขจำนวนเต็ม และตัวแปร Fraction      เป็นเลขทศนิยม
     ข้อความสั่งกำหนดค่าที่ถูกต้อง                  ข้อความสั่ง
กำหนดค่าที่ไม่ถูกต้อง
     Age := 26;                         Age := 26.5;
     Fraction := 26.5;                  Age := Fraction;
 
อีกกรณีหนึ่งการกำหนดค่าเลขจำนวนเต็มให้กับ ตัวแปรเลขทศนิยมสามารถทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ของปาสกาล กรณีนี้จะมีการเก็บเลขจำนวนเต็มใน สภาพของเลขทศนิยม  และมีการแสดงผลลัพธ์เป็นเลขทศนิยม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงกรณีนี้   
 3. การกำหนดค่าให้กับตัวแปรชนิดตัวอักขระ (char) โดยใช้เครื่องหมายฝนทองเสมอ เช่น
          Initial := 'E';
          Seventhcharacter := '7';
        ตัวแปรชนิดตัวอักขระ 1 ตัวสามารถใช้เก็บตัวอักขระ (character) เพียง 1 ตัวเท่านั้น 
3.2  การแทนมูลค่าในรูปของนิพจน์
ในปาสกาลมีหลักสำคัญ 2 ประการที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ มูลค่าของข้อมูลต่าง ๆ คือ        ชนิดของข้อมูล และการแทนชนิดของ ข้อมูลที่เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีพิสัย (range) ขนาดใหญ่ เช่น เลข      ทศนิยม (REAL) และเลขจำนวนเต็ม (INTEGER) หรือพิสัยขนาดเล็ก (เช่น เซตของตัวอักษรที่มีขนาด          64-128  ตัว หรือค่า ของตรรกวิทยาเพียง 2 ค่า)  นอกจากนี้ชนิดของข้อมูลอาจแยกได้โดยวิธีการ ที่นำข้อมูลไปใช้ เช่นข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม สามารถทำการคำนวณ บวก ลบ คูณ หารได้ แต่ไม่สามารถทำงานที่กล่าวมาแล้วกับข้อมูลที่ เป็นตัวอักขระ
การแทนมูลค่า (representation of value) คือการรวบรวมสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงความหมายของค่านั้น เช่น ถ้าต้องการแสดงความหมายของตัวเลข ที่มีค่าเป็น 7 สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
          7         seven          VII
นอกจากนี้ยังสามารถเขียนแทนได้อีก คือ
         +7         9-2            3+4       49   1/2
 
นิพจน์ในภาษาปาสกาลคือ ข้อความที่เขียนแทนด้วยตัวเลข  ตัวแปร ฟังก์ชัน หรือข้อความทางคณิตศาสตร์ที่มีเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หรือหาร
  3.3 ตัวดำเนินการเลขคณิต (Arithmetic Operator) ของเลขทศนิยม และเลขจำนวนเต็ม          ในการรวมค่าของเลขทศนิยม หรือเลขจำนวนเต็มเข้า ด้วยกันทำได้โดยใช้ตัวดำเนินการเลขคณิต เช่นเครื่องหมายบวก เครื่องหมายลบคูณ และหาร ในการหารมีข้อแตกต่างบางประการ       ระหว่างเลขทศนิยม และเลขจำนวนเต็ม เช่น
          4 หารด้วย 3 คือ 1.33333333333E + 00       ผลลัพธ์เป็นเลขทศนิยม
          4 หารด้วย 3 คือ 1  และเศษ 1               ผลลัพธ์เป็นเลขจำนวนเต็ม
          จะเห็นว่าในกรณีที่สอง ผลลัพธ์ที่ได้มีการปัดตำแหน่งทศนิยมทิ้งไป เหลือแค่ผลลัพธ์ที่เป็นเลขจำนวนเต็มอย่างเดียว
 
ตัวดำเนินการเลขคณิตที่ใช้กับเลขทศนิยม มีดังนี้
ตัวดำเนินการเลขคณิต          ความหมาย            ตัวอย่าง
                 +                     บวก          Price + Surcharge
                 -                     ลบ           Tuiton - Scholarship
                 *                     คูณ           32.87 * 6.5
                 /                     หาร          Spoils / 2.0
 
ตัวดำเนินการเลขคณิตที่ใช้กับเลขจำนวนเต็ม
ตัวดำเนินการเลขคณิตที่ใช้กับเลขทศนิยม ใช้ได้กับเลขจำนวนเต็มแทบทุกชนิด ยกเว้น        ตัวดำเนินการหารของเลขจำนวนเต็ม ใช้ div และ mod แทนเครื่องหมาย '/'
ตัวดำเนินการdiv ให้ผลหารที่เป็นเลขจำนวนเต็ม โดยปราศจากจุดทศนิยม และเศษที่เหลือ เช่น
          9 div 5   คือ 1
         24 div 9   คือ 2
        -19 div 5   คือ -3

TOP