การเขียนโปรแกรมภาษา PASCAL

            
               

ตัวดำเนินการmod ใช้ในการหารเลขจำนวนเต็ม แล้วให้ผลลัพธ์ที่เป็น เศษจากการหารนั้นๆ เช่น
           9 mod 5   คือ 4
         24 mod 9   คือ 6
           9 mod 24  คือ 9
 
ตัวดำเนินการเลขคณิตที่ใช้เลขจำนวนเต็ม มีดังนี้
ตัวดำเนินการเลขคณิต          ความหมาย            ตัวอย่าง
                 +                     บวก          Familysize + 2
                 -                     ลบ           Total - 1 
                 *                     คูณ           wage * hours
                 div                   หาร          10 div 3 (คือ  3)
                 mod                   หาร          10 mod 3 (คือ  1)   
ตัวดำเนินการ div และ mod ใช้ได้กับเลขจำนวนเต็มเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับเลขทศนิยมได้ นอกจากนี้ยังมีหลักการพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ ดังนี้
ถ้านิพจน์ประกอบด้วยเลขทศนิยม หรือเลขจำนวนเต็ม หรือเลขทศนิยมอย่างเดียวผลที่ได้จากการดำเนินงานจะเป็นเลขทศนิยม และผลที่ได้จากการใช้ตัวดำเนินการหาร ของเลขทศนิยม '/' นั้นคือเลขทศนิยม
ตัวอย่าง 3-2  การทำงานของตัวดำเนินการเลขคณิต
          3+1.0                  ผลลัพธ์     4.0000000000000E+00
          2E+02-87            ผลลัพธ์     1.1300000000000E+02
          -0.1*5                  ผลลัพธ์    -5.0000000000000E-01
          4/2                       ผลลัพธ์     2.0000000000000E+00
          1/1                       ผลลัพธ์     1.00000000000000+00
 
ลำดับการทำงานของตัวดำเนินการเลขคณิต
เมื่อนักเขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมที่ ประกอบด้วยตัวดำเนินการหลายชนิดรวมกัน ปัญหาที่ตามมาคือ คอมพิวเตอร์จะเริ่มทำการคำนวณอย่างไร เพื่อจะได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้เขียนโปรแกรม ดังนั้นจึงมีการตั้งหลักการใช้ตัวดำเนินการเลขคณิต เพื่อช่วยในการสื่อสารกับเครื่อง          คอมพิวเตอร์ 
          1. มีการจัดอันดับ (ordering) ของตัวดำเนินการเลขคณิตเมื่อนิพจน์ประกอบด้วย     ตัวดำเนินการอยู่ในระดับ (level) เดียวกันหลายชนิด คอมพิวเตอร์จะทำงานจากซ้ายไปขวา
          2. ถ้ามีเครื่องหมายวงเล็บ ให้ทำการคำนวณในวงเล็บก่อน 
การจัดอันดับตัวดำเนินการตามลำดับการทำงาน มีดังนี้
          1. เครื่องหมาย * / div mod
          2. เครื่องหมาย + -   

โครงสร้างควบคุม เป็นโครงสร้างหลักของโปรแกรม ที่ใช้ควบคุมการทำงานต่างๆ ของ ปาสกาล ประกอบด้วยคำสั่งโครงสร้าง 5 คำสั่งดังนี้
          1. ข้อความสั่ง IF (IF statement)   
          2. ข้อความสั่ง CASE (Case statement)   
          3. ข้อความสั่ง FOR (For statement)   
          4. ข้อความสั่ง REPEAT UNTIL (Repeat until statement)   
          5. ข้อความสั่ง WHILE DO (While do statement)   


4.1. ข้อความสั่ง IF 
ในข้อความสั่ง IF ประกอบด้วย นิพจน์หรือตัวแปร ชนิด ตรรกวิทยา (Boolean) เพื่อใช้ในการตัดสินใจ (ดูรูปที่ 4-2) 
รูปแบบ :   
          IF   ข้อความทางตรรก   
          then ข้อความสั่งกรณีหนึ่ง   
          else ข้อความสั่งอีกกรณีหนึ่ง   
เมื่อข้อความทางตรรกวิทยาที่อยู่ตามหลังข้อความสั่ง IF เป็นจริง จะมีการดำเนินตามข้อความสั่งที่ตามหลัง then ในทางตรงกันข้าม ถ้าข้อความที่ตามหลัง IF ไม่เป็นจริง จะมีการดำเนินงาน โดยข้อความสั่งที่ตามหลัง else 


ตัวอย่าง 4-1  โปรแกรมคำนวณหารากที่สอง 
     Program Sqareroot (input, output);   
     (*computer square roots, and error-checks input*)   
     VAR   
          Rootexists : boolean;   
          Argument, Answer : real;   
     BEGIN   
          writeln ('Please enter a number.');   
          readln (Argument);   
          Rootexists := Argument >= 0;   
          write ('The square root of', Argument:6:2);   
          if Rootexists   
               then begin   
               Answer := sqrt(Argument);   
               writeln ('is', Answer:6:2)   
               end (*then*)   
               else writeln ('is imaginary Sorry!');   
          writeln ('Thanks for using this program.')   
          end. (*Squareroot*)   

ข้อมูลส่งออก   
     Please enter a number.   
     -24.6   
     The square root of -24.60 is imaginary. Sorry!   
     Thanks for using this program.   

ข้อความสั่ง IF ในโปรแกรมใช้ตรวจสอบข้อมูล ที่นำมาคำนวณด้วยฟังก์ชันรากที่สอง กรณีที่ข้อมูลมีค่าเป็นบวก โปรแกรมนี้จะเขียนผลลัพธ์ (output) เนื่องจากโปรแกรมหยุดทำงาน เมื่อข้อมูลมีค่าเป็นลบ เพราะไม่สามารถหารากที่สองของเลขลบได้ และโปรแกรมจะเขียนข้อความระบุความผิดพลาด (error message) 

4.2 ข้อความสั่ง CASE (case statement) 
ในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในวงการธนาคารอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในการฝาก ถอนเงินด่วนอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า ATM(Automatic Teller Machine)  หลังจากที่ผู้ใช้บริการใส่บัตร ATM ลงในเครื่องแล้วใส่รหัสประจำตัวผู้ใช้ เขาสามารถเลือกว่า ต้องการใช้งานประเภทใด เช่น ฝาก ถอน โอนเงิน ตรวจยอดบัญชี ในภาษาปาสกาลมีข้อความสั่ง case ที่สามารถใช้กับกรณีนี้ได้โดยตรง คำสั่งนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกเงื่อนไขที่ต้องการได้ ในกรณีของ ATM ดังนั้นข้อความสั่ง case นี้ช่วยให้โปรแกรมสามารถทำงานได้หลายอย่าง (ดูรูป 4-3) 

TOP